“ทางหลวง” แจง 4 ประเด็นอภิปราย ยันยึดหลักธรรมาภิบาลเคร่งครัด

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง (ทล.) แจ้งว่า จากกรณีที่นายพัฒนา สัพโส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย ได้อภิปรายพาดพิง ทล. เมื่อวันที่ 15 ก.พคำพูดจาก pg เว็บตรง. ที่ผ่านมา ขอชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นที่เกี่ยวข้องจำนวน 4 เรื่องดังนี้

1.การทำผิวทางลาดยางแบบพาราแอสฟัลต์ (Para AC.)เป็นการนำยางพารามาผสมกับยางมะตอยที่โรงงานผลิต แล้วนำใช้ทำเป็นผิวถนนชั้นบนคุณภาพดี แต่ราคาสูงกว่าผิวทางลาดยางที่ใช้อยู่ การทำผิวทางแบบพาราแอสฟัลต์ เกษตรกรชาวสวนยางได้รับประโยชน์เพียง 5% ปัจจุบัน ทล. ไม่มีการก่อสร้างผิวทางลาดยางแบบพาราแอสฟัลต์แล้ว โดยในปี 63 รัฐบาลมีนโยบายให้หน่วยงานต่าง ๆ ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง

กระทรวงคมนาคมได้ตั้งคณะกรรมการ และมอบหมายให้ ทล. และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) พิจารณานำงานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ได้ศึกษาทดลอง ในการนำยางพารามาทำหลักนำทางยางพารา และแผ่นยางครอบแท่งแบริเออร์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และลดความรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุ ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางได้รับประโยชน์โดยตรงเป็นสัดส่วนมากถึง 70% และตั้งแต่มีการก่อสร้างแท่งแบริเออร์คอนกรีตในปี 64 ยังไม่มีการเกิดอุบัติเหตุการชนประสานงาจากการที่รถเสียหลักวิ่งข้ามเลนบริเวณที่มีการติดตั้งแท่งแบริเออร์คอนกรีต

2.การขอตั้งงบประมาณของ ทล. คำนึงถึงความคุ้มค่า ความพร้อมในการก่อสร้าง ความสำคัญของโครงข่าย ความต้องการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด การแก้ไขปัญหาที่ได้รับข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะความต้องการของประชาชนในพื้นที่ การซ่อมแซมบำรุงรักษาเส้นทางที่มีความเสียหาย การติดตั้งอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย การแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงจุดอันตราย เพื่อให้ผู้ใช้เส้นทางได้รับความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย การจัดงบประมาณกระจายอย่างทั่วถึงทุกจังหวัดทุกภาค ทั้งนี้การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่เป็นการพัฒนาปรับปรุงเส้นทางต่อเนื่องเป็นโครงข่ายทางหลวง หรือแก้ไขปัญหาจุดตัดทางแยกขนาดใหญ่ รวมถึงแก้ไขปัญหาจราจร ตามแผนพัฒนาทางหลวง ส่วนโครงการขนาดเล็กมุ่งแก้ไขปัญหาเฉพาะจุดที่มีความเสียหาย มีความจำเป็นเร่งด่วน และป้องกันแก้ไขอันตรายในการเดินทางเป็นหลัก

3.จากกรณีกล่าวหาว่ามีการลักลอบขุดดินจากที่ ส.ป.ก. มาก่อสร้างถนนสายท่าดอกแก้ว-ศรีสงคราม จ.นครพนม นั้น เรื่องนี้ ทล. ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงไปแล้วเมื่อเดือน พ.ค. 65 ขอเรียนให้ทราบว่า บ่อดินที่ใช้ในโครงการก่อสร้างของ ทล. ต้องเป็นบ่อดินที่มีเอกสารสิทธิมีคุณภาพ และต้องได้รับความเห็นชอบจาก ทล. ก่อนนำมาใช้ ซึ่งบ่อดินที่ใช้ในการก่อสร้างโครงการสายท่าดอกแก้ว-ศรีสงคราม มีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดิน และผ่านการทดสอบได้คุณภาพตามข้อกำหนดมาตรฐาน ทล. การขุดดินจากที่ ส.ป.ก. ดังกล่าว ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างนี้แต่อย่างใด

4.สำหรับประเด็นสอบถามของนายกฤษฎา ตันเทิดทิตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนองคาย พรรคเพื่อไทย ว่า โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 (M6) สายบางปะอิน-นครราชสีมา จะก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อใด นั้น เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 66 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติวงเงินค่าก่อสร้างงานโยธาเพิ่มเติม ในโครงการมอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-นครราชสีมา วงเงิน 4,970 ล้านบาท ซึ่งยังอยู่ในกรอบวงเงินงานโยธาทั้งโครงการที่ ครม. อนุมัติไว้ในปี 59 ทั้งนี้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม สั่งการให้ ทล. เร่งรัดเดินหน้าก่อสร้างอย่างเต็มที่ เน้นย้ำถึงคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งคาดว่าปลายปี 66 จะสามารถเปิดทดลองวิ่ง ช่วงปากช่อง-ทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา ระยะทาง 80 กิโลเมตร (กม.)

รวมถึงการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้เอกชนคู่สัญญาร่วมลงทุน (PPP)การดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M)เพื่อเร่งรัดงานติดตั้งระบบต่างๆ เช่นระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติพิเศษแบบไม่มีไม้กั้น (Multi-lane FreeFlow)หรือM-Flowระบบบริหารควบคุมการจราจร โดยจะเริ่มทดสอบระบบ พร้อมทยอยเปิดทดลองให้บริการได้ในปี 67 และเปิดใช้งานอย่างเต็มรูปแบบในปี 68

ทล. ยืนยันว่า การดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางถนน ทั้งโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ และการซ่อมบำรุงรักษาทางหลวง ถูกต้องตามหลักทางวิศวกรรม เพื่อความสะดวก และความปลอดภัย มีความคุ้มค่ากับการใช้เงินงบประมาณ ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด เป็นไปตามระเบียบกฎหมาย มติ ครม. โปร่งใส ตรวจสอบได้ รับฟังความคิดเห็นประชาชน โดยยึดหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัดคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

You May Also Like

More From Author